ผ้าอนามัยฟรีเพื่อเด็กและผู้หญิงชายขอบในวิกฤตโควิด-19 (ตัวอย่างผ้าอนามัยซักได้ ที่จะระดมทุนเพื่อผลิตและมอบให้กับเด็ก ๆ ) การมีประจำเดือนเป็นเรื่องที่เด็ก ผู้หญิง คนที่มีสภาวะเพศกำกวม (Intersex ) และทรานส์เมน ส่วนใหญ่ต้องการเข้าถึงข้อมูลความรู้ แต่เนื่องจากความเชื่อหลายอย่างที่สังคมไทยบอกต่อ ๆ กันมาว่า การที่ร่างกายขับเลือดประจำเดือนออกมาเพราะว่าเลือดประจำเดือนเป็นเลือดเสีย และสกปรกนั้น ทำให้การพูดถึงประจำเดือนหรือสิ่งของเครื่องใช้ที่เกี่ยวกับประจำเดือนในสังคมไทยจึงเป็นบทสนทนาที่ทำให้ผู้พูดถึง หรือกล่าวถึงถูกมองว่าเป็นคนที่น่ารังเกียจ ไม่เป็นสิ่งที่เจริญหูเจริญตา รวมทั้งคนที่มีประจำเดือนเองก็ถูกเหมารวมว่าช่วงที่ร่างกายมีประจำเดือนนั้น เป็นช่วงที่ร่างกายมีความสกปรก เรื่องของประจำเดือนและผ้าอนามัยจึงเป็นบทสนทนาที่ไม่ค่อยมีใครกล้าพูดถึง บวกกับการที่คนกลุ่มดังกล่างถูกกดทับอยู่ภายใต้โครงสร้างสังคมที่ชายเป็นใหญ่และทุนนิยม การซื้อผ้าอนามัยที่มีราคาสูงหรือการลุกขึ้นมาพูดเรื่องของประจำเดือนที่เชื่อมโยงเกี่ยวกับเรื่องของเศรษฐกิจจึงไม่ได้ปรากฏในสังคมไทยในเชิงบวกและนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่เชื่อมโยงเกี่ยวกัยสิทธิเด็กและสิทธิของผู้หญิง. หิ่งห้อยน้อยทำงานกับกลุ่มเด็กและเยาวชน เราเปิดพื้นที่ปลอดภัยและผลิตสื่อที่พูดเรื่องต้องห้ามและประเด็นอ่อนไหว (Taboos and sensitive topics) ที่สังคมไม่พูด ไม่สื่อสารกับเด็ก ๆ อย่างตรงไปตรงมา จากการทำงานกับกลุ่มเป้าหมายภายในระยะ 1 ปีที่ผ่านมา เราพบว่า เราได้รับข้อความจากเด็กจำนวนมาก ที่แสดงความคิดเห็นว่า ราคาผ้าอนามัยที่สูงขึน้ ส่งผลต่อการใช้ผ้าอนามัยของพวกเขา โดยเฉพาะเมื่อที่เด็ก ๆ ไม่มีเงินมากพอที่จะซือ้ ผ้าอนามัย หลายคนต้องทนใช้ผ้าอนามัยซ้ำและไม่กล้าบอกเรื่องนีกั้บใคร เมื่อมีเหตุการณ์ที่นักการเมืองหญิงท่านหนึ่งข่าวได้ให้ข่าวว่า รัฐบาลจะมีการภาษีผ้าอนามัยในช่วงปลายปี 2562 ที่ผ่านมา หิ่งห้อยน้อยได้สนใจประเด็นผลกระทบของการขึ้น ราคาผ้าอนามัยที่เชื่อมโยงโดยตรงกับด้านสุขภาพจิตและสุขภาพร่างกายของเด็ก ๆ… Continue reading ผ้าอนามัยฟรีเพื่อเด็กและผู้หญิงชายขอบในวิกฤตโควิด-19