“โรคระบาดไม่เคยเลือกสัญชาติ” เป็นคำกล่าวที่ไม่น่าเกินจริงนัก แต่กับคนอีกกลุ่มหนึ่ง มันไม่ใช่เพียงแค่การติดโรคระบาดในเชิงกายภาพเพียงเท่านั้น แต่กลับหมายรวมถึงสถานภาพทางเศรษฐกิจของพวกเขาอีกจะเปลี่ยนแปลงไปด้วย โดยเฉพาะในยุคโลกาภิวัตน์ ที่พรมแดนไม่อาจแบ่งกั้นระบบเศรษฐกิจอีกต่อไป
จังหวัดเชียงใหม่เป็นจังหวัดที่มีขนาดใหญ่ อันดับสอง รองจากกรุงเทพมหานคร และมีการจ้างงานแรงงานข้ามชาติอยู่ประมาณหนึ่งแสนคน หลายภาคส่วนยอมรับว่าแรงงานเหล่านี้ช่วยขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของประเทศไทย
ตั้งแต่สถานการณ์โรคโควิด-19 เริ่มระบาด จนสถานการณ์ปัจจุบันเริ่มคลี่คลาย มีแรงงานที่อยู่ในงานภาคบริการเช่น โรงแรม หรือ สถานท่องเที่ยวต่าง ๆ ซึ่งพวกเขาเป็นประชากรของแรงงานที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด เนื่องจากจังหวัดเชียงใหม่เป็น แหล่งท่องเที่ยวอันดับต้นของประเทศไทย ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมท่องเที่ยวซึ่งคาดการณ์ว่าจะมีการฟื้นตัวช้าที่สุด
ในเวลานี้หลายคนอาจจะเข้าใจคำว่าจิตสำนึกส่วนรวมอย่าง “เราไม่ทิ้งกัน” แต่ในมุมนึง…แต่… เรากลับหลงลืมและทอดทิ้งใครบางคนในสังคมไปอีกหรือเปล่า
เสียงสะท้อนของคุณกิ่ง- ปสุตา ชื้นขจร จากมูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา ซึ่งเป็นเครือข่ายทำงานร่วมกับหิ่งห้อยน้อยในการนำผ้าอนามัยส่งไปให้กับเพื่อนแรงงานข้ามชาติในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19