Hinghoynoy.org

Fund for free pads : Menstruation and COVID-19

Once entering puberty, girls and those with female bodies step into teenage years with changes in their bodies and hormonal levels. With these natural growth processes, menstruation becomes a part of their lives. It is important that they get to understand their bodies and menstruation. In schools, there is a health curriculum that discusses sexual health and involves menstruation. Yet, it seems that menstruation is still something mysterious. Girls speak in whispers over this topic and the knowledge around menstruation is mixed with myths and beliefs. Menstruation is a curious topic. Many children wonder about it but in this society where patriarchy is dominant, issues around girls’ bodies are oppressed. Period, a natural phenomenon in women and girls’ lives, becomes something dirty and shameful.

 

Some children never know about menstruation and when they have their period for the first time, they get shocked or anxious. Some do not know how to wear sanitary pads nor have the courage to go buy one at the shop. Children in low-income families are silent on the issues: their parents are busy trying to make ends meet outside of home and they do not know where to turn to nor where to get information from. Hinghoy Noy has found that some girls had to reuse their sanitary pads due to not having enough money, which threatens their hygienic wellbeing. While those who can afford to buy pads, the ones they have access to are only unsustainable plastic pads that would take hundreds of years to decompose. On top of that, children have to buy pads every month from big corporates without any other alternatives.

 

From the first day of their period, children up to adults will have to continue spending money on buying pads through the following decades of their lives. Some may start to question, “Can we change or do something about it?”

 

Children, menstruation, economic, environment: they are all intertwined and being affected by patriarchal culture and capitalism. Every time girls and those with female bodies are on period, the big corporates are gaining. They are feeding off the essential supplies for girls and those with female bodies. When normal circumstances can be difficult, the COVID-19 global pandemic multiplies the everyday struggles. The Thai government has declared an emergency state and imposed a curfew to keep people in their homes. Families are affected by the sudden decrease or lack of income as many lose their jobs. Many are in this crisis with the risk of catching the virus, the lack of income, the empty stomach, all while having their period. In Thailand, the state welfare does not offer free access to sanitary pads. Girls and others still have to buy sanitary pads and pay for VAT, even though we cannot stop having menstruation.

 

During this COVID-19 pandemic, many are hoarding for supplies, including sanitary pads. This shows that we all realize the necessity of sanitary pads: as long as we are bleeding, we need them. Nonetheless, the buying power mostly belongs to those with income, salary, or credit cards, leaving those without behind. The local shops that sell sanitary napkins are open with less hours due to the emergency state. Only chain convenient stores that operate longer hours. However, some households do not let their children go outside due to the fear of coronavirus. While girls and those with female bodies cannot stop their period, they are struggling to access sanitary pads. For the children in families that cannot afford to buy sanitary pads during this challenging time, what can we do for them? As conversations around menstruation and sanitary pads are left behind, we decide it’s time to take action.

 

Hinghoy Noy, friends, and artists have come together to support the voices of children and youth around this issue. We intend to listen to all the worries and concerns that children and youth may have around their period and sexual health through our online platform. We want to also make sustainable, washable, reusable pads that will reduce their dependence on corporate capitalism as well as navigate their understanding of their own period.

 

We will provide a pad kit. This kit includes a cloth bag with five reusable pads made with 100% cotton, which are highly absorbent, and an instruction booklet with a QR code that links to our online platform with informative online video. Moreover, the kit will also consist of a period diary that allows children and youth to record their period journey with their own narrative. An empowering sticker will be added to spread period-positive messages. We will work together with organizations that work for children in densely populated areas, people experiencing homelessness, feminist artists, and organizations. We would like to ask for your support in order to bring change to the children and youth in this anxious state of crisis with no money to afford sanitary pads.

 

We will produce 100 kits. The kits will be provided to those that request via hinghoynoyclub Facebook page and to the children in slum and rural area. We will conduct an activity with the children and give away the kits in collaboration with NGOs network.

 

With each 500-baht contribution, you are giving one pad kit to the children that need it most. You are giving:

  • Five washable pads that are sustainable and economical in the long run. They are made from 100% cotton, nano cloth for absorbent, leak-proof cloth, and five-layer of bamboo cloth.

  • Information booklet on menstruation and how to use the washable pads.

  • Period diary for children to record their period journey.

  • A period-positive sticker for advocacy.

  • A fabric bag that contains all of the above.

 

If you would like to support this project, you could contribute in any amount via:

  • PayPal: hinghoynoyfounder@gmail.com

  • Bank transfer: Krungsri Bank. Account Number 013-1-61771-5. Account Name: Ruangtup Kaeokamechun

  • Share our message to your networks of friends, families, colleagues, or anyone who might be interested in this project!

 

Thank you for supporting this cause. We are on the way to change the narrative of menstruation and pads. The voice of this issue matters and is critical in this crisis.

 

With ambition and love,

 

Ruangtub Kaeokamechun

Hinghoy Noy Founder

 

 

 

เด็กหญิงและทุกคนที่เกิดมาพร้อมกับสรีระร่างกายที่เป็นเพศกำเนิดหญิง เมื่อเริ่มเข้าสู่ช่วงเปลี่ยนผ่านวัยจากเด็กสู่วัยรุ่น ร่างกายและฮอร์โมนก็จะมีการเริ่มเปลี่ยนแปลง  ทุกคนต้องผ่านจุดนี้ที่เป็นกระบวนการเติบโตตามธรรมชาติ  ประจำเดือน ก็เป็นเรื่องหนึ่งที่สำคัญของเด็กหญิงทุกคนในวัยนี้ต้องทำความเข้าใจ  ในสถานศึกษามีแบบเรียนและหลักสูตรวิชาที่สอนเรื่องเพศศึกษาและเชื่อมโยงเกี่ยวกับเรื่องประจำเดือน  อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่าประจำเดือนยังเป็นเรื่องลึกลับบางอย่าง ที่เด็กหญิงพากันพูดเสียงค่อย ๆ และเรื่องราวพวกนั้นก็ไม่ใช่ข้อมูลที่ถูกต้องเสียทั้งหมด  การมีประจำเดือนก็เลยเป็นเรื่องที่เด็ก ๆ อยากรู้ สงสัย แต่เพราะความเชื่อหลายอย่างที่บอกต่อ ๆ กันมา และเรื่องโครงสร้างสังคมชายเป็นใหญ่ซึ่งกดทับผู้หญิง จึงทำให้เลือดประจำเดือนของเด็ก ๆ ที่เป็นเรื่องธรรมชาติ  ถูกนำเสนอออกมาเป็นเลือดเสีย เลือดสกปรก การเป็นผู้หญิงที่มีประจำเดือนจึงกลายเป็นเหมือนเรื่องที่ถูกกดทับให้เด็กผู้หญิง ไม่กล้าพูดกันเสียงดัง  เด็กบางคนไม่รู้จักประจำเดือนมาก่อน จนถึงขั้นตกใจ วิตกกังวลเมื่อมีประจำเดือนครั้งแรก  มิหน้ำซ้ำยังไม่รู้จักการวิธีใช้ผ้าอนามัย หรือไม่กล้าที่จะไปซื้อผ้าอนามัยที่ร้านค้าด้วยตัวเอง  ส่วนเด็กที่ครอบครัวมีฐานะทางการเงินไม่ดี  พวกเขาปิดปากเงียบ เพราะพ่อแม่มัวแต่ออกไปหาเงินนอกบ้าน  ไม่มีความรู้ที่ถูกต้อง  และไม่รู้จะพูดกับใคร  หิ่งห้อยน้อยพบข้อมูลว่าเด็กผู้หญิงบางคนถึงขั้นที่ต้องใช้ใช้ผ้าอนามัยซ้ำแล้วซ้ำอีก และในขณะที่เด็กที่เข้าถึงผ้าอนามัยได้ ก็ต้องซื้อผ้าอนามัยสำเร็จรูปที่เป็นพลาสติก ผ่านการกำจัดขยะที่ต้องอาศัยระยะเวลาย่อยสลายหลายร้อยปี  และก็ต้องซื้อมาใช้ทุกเดือนจากผู้ผลิตรายใหญ่ ๆ แบบไม่มีทางเลือกใหม่ให้กับตัวเอง

 

จากเด็กที่เริ่มเข้าสู่วัยสาวมีประจำเดือนครั้งแรก ก็ต้องใช้เงินซื้อผ้าอนามัยกันยาว ๆ ไปจนถึงวัยที่หมดประจำเดือน หลายคนอาจจะไม่เคยตั้งคำถามให้กับตัวเองว่าเราเปลี่ยนแปลงเรื่องเหล่านี้ได้ไหม ?

 

เด็ก ประจำเดือน ผ้าอนามัย เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม  มันเชื่อมโยงกันหมดภายใต้สังคมแบบชายเป็นใหญ่และทุนนิยม สถานการณ์ทั่วไปที่แย่อยู่แล้ว  ก็ยิ่งแย่ไปกันใหญ่เมื่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของไข้โควิด-19 กระจายลุกลามไปทั่วโลก รัฐบาลไทยประกาศสถานการณ์เคอร์ฟิว กำหนดระยะเวลาให้ประชาชนอยู่ภายในบ้านมากขึ้น  ครอบครัวทั้งหมดได้รับผลกระทบโดยตรงจากรายได้ที่ลดลงอย่างกะทันหัน รวมทั้งการถูกเลิกจ้าง ไวรัสก็มา เงินไม่มี ข้าวต้องกิน เมนส์ก็ไหล  แต่มีใครสนใจเรื่องนี้จริงจัง ประเทศไทย รัฐสวัสดิการไม่มีผ้าอนามัยฟรี  เด็กและผู้หญิงยังต้องซื้อผ้าอนามัยบวกภาษี  ทั้ง ๆ ที่พวกเราก็ห้ามให้ประจำเดือนหยุดไหลไม่ได้

 

ในช่วงยุคโควิด ภาพการกักตุนสินค้า มีให้เห็นทุกรูปแบบ แม้แต่ชั้นวางผ้าอนามัยยังแทบว่างเปล่า  คนที่มีรายได้ มีเงินเดือน มีบัตรเครดิต ต่างก็รู้ว่าผ้าอนามัยมันจำเป็น ยังไงเมนส์ที่มันไหล ก็ต้องมีอะไรมาซับ  เด็กและผู้หญิง ถูกทำให้ต้องพึ่งพาผ้าอนามัยที่เหมือนจะเป็นสินค้าผูกขาดจากบริษัทใหญ่  ๆ ทุกครั้งที่เมนส์มา เงินของเด็กและผู้หญิงก็จะวิ่งไปที่นายทุน  แล้วร้านค้าที่อยู่ใกล้ ๆ บ้านก็ปิดไวขึ้น  มีแต่ร้านสะดวกซื้อที่ยังเปิดนานออกไปหน่อย

ในขณะที่เด็กผู้หญิงห้ามเมนส์ของตัวเองให้หยุดไม่ได้ แถมยังจะต้องทนอยู่กับสิ่งเหล่านี้   เด็กเล็ก ๆ ยิ่งไม่ต้องพูดถึง  ไม่มีครอบครัวไหนปล่อยลูกให้ไปเสี่ยงโควิดนอกบ้าน  สำหรับครอบครัวที่มีเงิน หรือยังมีรายได้นั่นก็คงจะมีการกักตุนผ้าอนามัยไว้แล้ว  แต่ถ้าเป็นเด็กที่มาจากครอบครัวที่โดนผลกระทบจากพิษโควิดเต็ม ๆ ล่ะ เราจะช่วยเขาได้ยังได้บ้าง ?

 

พวกเราหิ่งห้อยน้อย เพื่อนและศิลปินหญิงเลยรวมตัวกันคิดว่า เราจะไม่ขออยู่เฉยล่ะ กับสถานการณ์แบบนี้  ในเมื่อบทสนทนาเรื่องประจำเดือนและผ้าอนามัยยังถูกทิ้งไว้ข้างหลัง หลังเรื่องสุขภาพ  เรื่องข้าวปลาอาหาร เรื่องเงินชดเฉย  หิ่งห้อยน้อยและเพื่อน ๆ จึงอยากจะเป็นช่วยเด็ก ๆ เหล่านั้น ในการส่งเสริมให้พวกเขาเปล่งเสียงของตัวเอง โดยพวกเราจะตั้งใจช่วยให้ในการรับฟัง เรื่องทุกเรื่องที่เด็กกังวลเกี่ยวกับประจำเดือนผ่านแพลทฟอร์มออนไลน์ของเรา และเราอยากทำผ้าอนามัยซักได้  ที่จะช่วยให้เด็กพึ่งพาตัวเองและเข้าใจเรื่องราวของประจำเดือนของตัวเองได้ในช่วงวิกฤติ

 

หิ่งห้อยน้อยจะทำโครงการชุดผ้าอนามัยซักได้สำหรับเด็กมูลค่าชุดละ 500 บาท ได้ให้เด็ก ๆ ในช่วงติดบ้านในช่วงโควิด-19 ระบาด จำนวน 100 ชุด 

• ประกอบไปด้วยผ้าอนามัยซักได้ จำนวน 5 ชิ้น

(ทำจากผ้าคอตตอน 100%, ผ้านาโนสำหรับซึมซับน้ำอย่างดี,ผ้ากันซึมอย่างดี และผ้าอ้อมเยื่อไผ่ จำนวน 5 ชั้น)

ถุงผ้าสำหรับใส่ผ้าอนามัย

• คู่มือความรู้เกี่ยวกับประจำเดือนและการใช้ผ้าอนามัยซักได้  (ซึ่งมีคิวอาร์โค้ด เว็บไซต์ เพื่อเข้าถึงข้อมูลเป็นคลิปวิดีโออออนไลน์)

• สมุดบันทึกการมีประจำเดือนในแต่ละเดือน

• สติ๊กเกอร์รณรงค์โครงการซึ่งจะมีข้อมูลที่น่ารู้ น่าสนใจเกี่ยวกับประจำเดือนและผ้าอนามัยให้กับเด็ก ๆ ที่จะช่วยให้เด็กคลายข้อสงสัยและความกังวลใจ

 

เราจะทำงานร่วมมือกับองค์กรที่ทำงานกับเด็ก ๆ ในชุมชนแออัด  คนไร้บ้าน ศิลปิน และองค์กรที่ทำงานด้านผู้หญิง  รวมทั้งเราต้องการความร่วมมืออย่างยิ่งจากทุกคน ที่จะรับเงินสนับสนุนพวกเราและกระจายข่าวนี้ไปยังเด็ก ๆ ที่กำลังเมนส์ไหล กังวล ไม่กล้าพูด ไม่ให้ออกนอกบ้าน และไม่มีเงินซื้อผ้าอนามัย

ผู้ที่สนใจสามารถสอบถามข้อมูลได้ที่หมายเลขโทรศัพท์  085-2291941 เฟสบุ๊กเพจ hinghoynoyclub อีเมล hinghoynoyfounder@gmail.com

และเบื้องต้นพวกเราต้องการเงินสนับสนุบงบประมาณจำนวน 50,000 บาทในการทำงานโครงการนี้ในการจัดทำงานผ้าอนามัยซักได้หิ่งห้อยน้อยจำนวน 100 ชุด แจกให้กับเด็ก ๆ ที่ขอรับผ้าอนามัยทางเพจ hinghoynoyclub และลงพื้นที่แจกและทำกิจกรรมในเขตพื้นที่สลัมและชนบท  ผ่านการทำงานร่วมกับเครื่อข่ายเอ็นจีโอ 

 

โดยผู้ที่สนใจสนับสนุนทุนสามารถโอนเงินมาได้ที่เลขที่บัญชี PayPal hinghoynoyfounder@gmail.com

หรือเลขที่บัญชีธนาคาร ชื่อบัญชี นางสาวรวงทัพพ์  แก้วแกมจันทร์ 013-1-61771-5 ธนาคารกรุงศรี สาขาสะพานควาย

 

เราขอขอบคุณทุกคนที่เข้าใจ รับฟังและสนับสนุนเรื่องประจำเดือนและผ้าอนามัย ซึ่งเป็นเรื่องพูดได้ และเป็นเรื่องที่จำเป็นต้องพูดในสถานการณ์นี้

ด้วยความตั้งใจและความรัก

รวงทัพพ์ แก้วแกมจันทร์   ผู้ก่อตั้งหิ่งห้อยน้อย

Fund for child-friendly media on Hinghoy Noy platform

       Hinghoy Noy is an organization that listening to children’s worries and their concern in time of COVID-19 outbreak, where people have to self-quarantine in their homes. The help from the government in terms of economy is not enough and not inclusive. Many parents might have lost their income and their jobs. These kinds of stress and tension that are burdening parents result in violence, verbally or physically, against children during the quarantine. From March until present time, Hinghoy Noy received messages from children who have faced more domestic violence. Currently, we only have one full-time staff that does everything without any salary. As we’ve received more messages coming from various platforms, we need to hire another full-time staff to be a listener for these children using chat-line and hotline during this time of emergency Your donation will help us to work as listeners and continue helping these children, to overcome these hard time together.

 

หิ่งห้อยน้อยเป็นองค์กรที่ทำงานเพื่อรับฟังปัญหาและเรื่องราวกังวลใจของเด็ก ๆ  ในระยะที่มีการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19  ประชาชนไทยต้องมีการกักตัวอยู่ในบ้าน  การช่วยเหลือของรัฐในด้านเศรษฐกิจที่ไม่เพียงพอและทั่วถึง  ทำให้ผู้ปกครองหลายคนสูญเสียรายได้และสูญเสียอาชีพ  ความเครียด ความกดดันที่ผู้ปกครองแบกรับอยู่นั้น  จึงส่งผลให้เกิดความรุนแรงทั้งคำพูดและการใช้กำลังทำร้ายเด็ก ๆ  ในขณะที่กักตัว 

 

       ในช่วงเดือนมีนาคม ถึงปัจจุบัน  หิ่งห้อยน้อยได้รับข้อความจากเด็ก ๆ ที่เผชิญกับความรุนแรงภายในบ้านเพิ่มมากขึ้น  ปัจจุบัน เรามีเพียงเจ้าหน้าที่ประจำ 1 คนที่ทำงานทุกอย่างโดยไม่ได้รับเงินเดือน จากจำนวนข้อความที่ส่งเข้าเพิ่มมากขึ้นผ่านแพลทฟอร์มต่าง ๆ ทำให้เราต้องการเจ้าหน้าที่ชั่วคราวเพิ่มขึ้นอีก 1 ตำแหน่งเพื่อทำหน้าที่รับฟังเด็ก ๆ ผ่านแชทไลน์ในช่วงระยะเวลาวิกฤตนี้โดยเร่งด่วน

 

         การบริจาคของท่านจะช่วยเหลือให้พวกเราทำหน้าที่รับฟังและช่วยเหลือเด็ก ๆ ต่อไปได้  และผ่านพ้นระยะเวลาที่ยากลำบากนี้ไปด้วยกัน  

Fund for child-friendly media on Hinghoy Noy platform

        Hinghoy Noy is the organization that makes media about taboos and sensitive matters for children 4-18 years old. All these media are presented on platforms, developed and created by local artists, experts in children media, and child psychologists. All of your contributions would let us have a storybook, music, animation, and variety of quality children media that could be able to broadcast as open-source to network of bodies working on children’s issues no matter how near or far. Apart from that, it would let us reach out to other languages without limitation of copyright. 

        หิ่งห้อยน้อย ผลิตสื่อประเด็นทาบูและเรื่องอ่อนไหวสำหรับเด็กอายุ 4-18 ปี  โดยสื่อท้้งหมดที่เราเผยแพร่บนแพลตฟอร์มได้รับการพัฒนาและสร้างสรรค์ขึ้นจากศิลปินท้องถิ่น  ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการผลิตสื่อสำหรับเด็ก  และนักจิตวิทยาพัฒนาการเด็ก   

 

        ทุก ๆ การสนับสนุนของท่าน จะช่วยให้เรามีหนังสือนิทาน เพลง อะนิเมชั่น และสื่อเด็กหลากหลายชนิดที่มีคุณภาพ  เป็นที่ชื่นชอบของเด็ก ๆ  และสามารถเผยแพร่เป็นสื่อโอเพ่นซอร์สไปยังเครือข่ายที่ทำงานเด็กทั้งใกล้ไกล  รวมไปถึงการเข้าถึงภาษาต่าง ๆ อย่างไม่มีข้อจำกัดของลิขสิทธิ์